อาการตาพร่ามัวเห็นภาพซ้อนเกิดจากอะไร
การมองเห็นการมองเห็นภาพซ้อน หรือที่เรียกว่าภาวะ Diplopia แบ่งออกเป็น 2 กรณี ดังนี้
1. การมองเห็นภาพซ้อนเมื่อมองด้วยตาข้างเดียว (Monocular)
คนที่มีอาการตาพร่ามัวเห็นภาพซ้อน แต่เมื่อลองปิดตาข้างใดข้างหนึ่งแล้วภาพซ้อนนั้นหายไป สามารถตั้งข้อสังเกตได้ว่าอาการเหล่านี้อาจเกิดจากค่าสายตาเอียง กระจกตาเคลื่อน ภาวะดวงตาแห้ง จอประสาทตาเสื่อม เปลือกตาบวม หรือต้อกระจก
2. การมองเห็นภาพซ้อนเมื่อมองด้วยตาทั้งสองข้าง (Binocular)
คนที่มีอาการตาพร่ามัวหรือเห็นภาพซ้อนด้วยดวงตาทั้งสองข้าง มักจะเกิดจากกล้ามเนื้อตาทำงานผิดปกติ ซึ่งสามารถตั้งข้อสงสัยได้ว่าอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคทางระบบประสาทและสมอง กล้ามเนื้ออ่อนแรง เบาหวาน และโรคเกรฟส์ได้
นอกจากนั้นแล้วการมองเห็นภาพซ้อน สาเหตุอาจเกิดได้จากหลายปัจจัยโดยสาเหตุที่ก่อให้เกิดภาพซ้อนในระยะสั้นคือการดื่มแอลกอฮอล์ มักก่อให้เกิดอาการมึนเมา ภาพเบลอ ภาพซ้อน ตาพร่ามัวได้เช่นกัน ซึ่งหากเกิดจากฤทธิ์แอลกอฮอล์จะสามารถหายเองได้เมื่อแอลกอฮอล์ในร่างกายลดลง หรืออีกหนึ่งสาเหตุคือการจดจ้องที่ใดที่หนึ่งมากจนเกินไป เช่น จอคอมพิวเตอร์ หรือหนังสือเป็นเวลางาน การทำให้ตาเริ่มเหนื่อยล้า มองเห็นภาพเบลอได้
แต่หากมีอาการเห็นภาพซ้อน เวียนหัว หรือ ตาพร่ามัว เห็นภาพซ้อน ปวดหัว แม้ไม่ได้ดื่มแอลกอฮอล์อาจเกิดจากผลพวงของโรคอื่น ๆ เช่น โรคหลอดเลือดในสมอง เนื้องอกในสมอง หรือโรคอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับสมองได้เช่นเดียวกัน
อาการตาพร่ามัวเห็นภาพซ้อนเป็นอันตรายไหม
หากถามว่าอันตรายไหม ถ้าจะตอบว่าการเห็นภาพซ้อนไม่เป็นอันตรายก็คงจะไม่ได้ เพราะแม้ภาพซ้อนนั้น ๆ จะเกิดจากดวงตาอ่อนล้าจากการเพ่งเล็งหรือจดจ่อกับจอคอมหรือหนังสือก็ตาม ถ้าพูดไปอาจจะดูไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไร แต่หากปล่อยไว้เป็นเวลานานก่ออาจส่งผลต่อจอกระจกตา กล้ามเนื้อตา และอาจลุกลามจนเกิดโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมาได้เช่นกัน การมองเห็นภาพซ้อนเฉียบพลัน และเป็นอยู่บ่อยครั้งโดยไม่ทราบสาเหตุถือเป็นสัญญาณอันตรายที่ควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรคอย่างละเอียดทันทีที่เริ่มมีอาการ เพื่อรักษาได้อย่างทันท่วงที
มองเห็นภาพซ้อนรักษาอย่างไร
มองเห็นภาพซ้อน การรักษาจะขึ้นอยู่กับผลตรวจทางการแพทย์ว่าเกิดจากสาเหตุใด หากเกิดจากดวงตาอ่อนล้า มองเห็นภาพซ้อนด้วยตาข้างเดียว อาจใช้แว่นตาสำหรับคนมองเห็นภาพซ้อน หรือการใช้น้ำตาเทียม เพื่อประคองอาการตาพร่ามัวเห็นภาพซ้อนในเบื้องต้นได้และรักษาต่อไป หรือหากเกิดจากกล้ามเนื้อตาทำงานผิดปกติก็อาจมีการผ่าตัดเพื่อรักษากล้ามเนื้อดวงตาให้กลับสู่ภาวะปกติ