เครื่องช่วยหายใจคืออะไร สามารถช่วยให้ผู้ป่วยหายใจได้จริงไม่? วันนี้มีคำตอบ!
การใส่เครื่องช่วยหายใจจะช่วยให้ผู้ป่วยที่มีภาวะการหยุดหายใจหรือไม่สามารถหายใจด้วยตัวเองสามารถกลับมาหายใจได้อีกครั้ง ซึ่งเครื่องช่วยหายใจคืออุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก วันนี้เราจะพาทุกคนไปรู้จักกับการทำงานของเครื่องช่วยหายใจให้ลึกขึ้นไปอีก ใครที่อยากรู้แล้วว่าเครื่องช่วยหายใจจะทำงานอย่างไร และมีความสำคัญต่อผู้ป่วยอย่างไรบ้างนั้น ตามไปชมกันเลยค่ะ
เครื่องช่วยหายใจ คือ อุปกรณ์ทางการแพทย์ชนิดหนึ่งที่มีส่วนในการช่วยนำออกซิเจนเข้าสู่ปอดของผู้ป่วยที่ไม่สามารถหายใจเองได้ เนื่องจากระบบทางเดินหายใจของผู้ป่วยเกิดภาวะติดขัด ซึ่งการเลือกใช้เครื่องช่วยหายใจจะทำให้เพิ่มแรงดันอากาศเข้าสู่ปอด โดยเครื่องช่วยหายใจจะแบ่งเป็นชนิด ได้แก่
เครื่องช่วยหายใจแบบ CPAP หรือแรงดันบวกต่อเนื่อง
เครื่องช่วยหายใจ BiPAP หรือแรงดันสองระดับ
เครื่องช่วยหายใจที่ควบคุมด้วยปริมาตร
ความแตกต่างระหว่างใส่เครื่องช่วยหายใจกับเครื่องผลิตออกซิเจน
เครื่อง CPAP หรือเครื่องช่วยหายใจกับเครื่องผลิตออกซิเจน ทำหน้าที่ต่างกัน โดยเครื่องผลิตออกซิเจนจะช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจนในปอด เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถฟอกเอาออกซิเจนจากอากาศเข้าสู่ร่างกายได้ เช่น ผู้ป่วยโรคถุงลมโป่งพอง ส่วนเครื่องช่วยหายใจจะนำมาใช้กับผู้ป่วยที่ไม่สามารถหายใจเองได้ หรือผู้ป่วยที่ปอดไม่สามารถนำเอาอากาศเข้าสู่ปอดได้ เช่น ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อปอดอ่อนแรง เนื่องจากเป็นเครื่องช่วยหายใจแบบแรงดันบวกต่อเนื่อง จึงสามารถเพิ่มแรงดันอากาศ และมีประสิทธิภาพสูง อีกทั้งยังสามารถใช้ได้กับผู้ป่วยที่มีอาการนอนกรน หรือผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อภาวะการหยุดหายใจขณะหลับ
เครื่องช่วยหายใจมีกี่ประเภท
เครื่องช่วยหายใจสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่
1. เครื่องช่วยหายใจ CPAP
เป็นเครื่องช่วยหายใจที่ใช้หลักการอัดแรงดันอากาศเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถหายใจเข้าออกได้ และยังช่วยเปิดช่องระบบทางเดินหายใจส่วนต้นให้กว้างขึ้น มีไว้สำหรับรักษาผู้ที่มีอาการนอนกรน หรือผู้ป่วยภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
2. เครื่องช่วยหายใจ BiPAP
เป็นเครื่องช่วยหายใจที่จัดเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ ช่วยในการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ หรือผู้ป่วยที่มีภาวะนอนกรนอย่างรุนแรง ซึ่งกลไกการทำงานของเครื่องช่วยหายใจ BiPAP จะดันลมหรืออากาศเข้าไปในปอดขณะหายใจเข้า และยังช่วยป้องกันทางเดินหายใจส่วนต้นอุดตันขณะที่ทำการหายใจออก ซึ่งเครื่องนี้สามารถปรับความดันได้ 2 ระดับ โดยควรเลือกระดับแรงดันอากาศให้เหมาะสมกับผู้ป่วยที่กำลังใช้งาน และต้องตั้งค่าให้พอดีกับจังหวะหายใจเข้าและหายใจออก
ประโยชน์ของการใส่เครื่องช่วยหายใจ
วัตถุประสงค์ของการใช้เครื่องช่วยหายใจนั่นก็คือสามารถช่วยให้ผู้ป่วยหรือผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจกลับมาหายใจได้เป็นปกติอีกครั้ง ซึ่งเครื่องช่วยหายใจมีทั้งข้อดีและข้อเสียดังนี้
1. ข้อดี เครื่องช่วยหายใจ
ใส่เครื่องช่วยหายใจให้กับผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัว หรือผู้ที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจ ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ
ช่วยกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากร่างกาย
สามารถใส่เครื่องช่วยหายใจ ขณะหลับให้กับผู้ป่วยที่มีภาวะหยุดหายใจ
ช่วยให้ผู้ป่วยที่มีปัญหาทางเดินหายใจสามารถกลับมามีโอกาสหายใจได้เป็นปกติอีกครั้ง
ช่วยให้ผู้ป่วยที่ได้รับยาสลบจากการผ่าตัด หรือผู้ป่วยที่ได้รับอุบัติเหตุ ส่งผลต่อการหายใจ สามารถช่วยให้ผู้ป่วยหายใจได้
2. ข้อเสีย เครื่องช่วยหายใจ
เสี่ยงต่อการติดเชื้อ เนื่องจากที่เชื้อโรคต่าง ๆ สามารถหลุดเข้าไปภายในท่อที่เชื่อมกับระบบทางเดินหายใจของผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยได้รับเชื้อโรค ดังนั้นการดูแลเรื่องความสะอาดเป็นสิ่งที่ควรทำอย่างมาก อีกทั้งเครื่องช่วยหายใจที่มีเชื้อโรคสะสมอยู่ อาจทำให้ปอดของผู้ป่วยได้รับความเสียหายได้ ยิ่งถ้าหากผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน อาจมีปัญหาในด้านของการหายใจเองตอนถอดเครื่องช่วยหายใจ