แชร์

สาเหตุและอาการของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง Stroke เกิดจากอะไร? ป้องกันยังไงได้บ้าง

อัพเดทล่าสุด: 14 ธ.ค. 2023
231 ผู้เข้าชม
สาเหตุและอาการของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง Stroke เกิดจากอะไร? ป้องกันยังไงได้บ้าง

สาเหตุและอาการของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง Stroke เกิดจากอะไร? ป้องกันยังไงได้บ้าง

ภาวะของโรคหลอดเลือดสมอง Stroke เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของประเทศไทยและของโลก ในขณะเดียวกันก็ยังมีผู้ป่วยที่รอดชีวิต แต่กลายเป็นคนพิการถาวรอีกจำนวนไม่น้อย ทั้งที่จริงแล้วโรคนี้สามารถรักษาหายได้โดยไม่มีความผิดปกติหลงเหลือ หากนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลได้ทันเวลา หรือภายใน 4 ชั่วโมงครึ่ง วันนี้เราจึงจะชวนทุกคนมาทำความรู้จักกับสาเหตุและอาการ เพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันและช่วยเหลือผู้ป่วย Stoke


โรคหลอดเลือดสมอง Stroke คืออะไร
 

Stroke คือ ภาวะสมองขาดเลือด ซึ่งอาจเกิดจากการที่หลอดเลือดสมองตีบ หลอดเลือดอุดตัน หรือหลอดเลือดสมองแตก จึงไม่สามารถลำเลียงออกซิเจนและสารอาหารไปหล่อเลี้ยงสมองได้ ส่งผลให้เซลล์สมองเกิดความเสียหาย ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ   


สาเหตุของโรคหลอดเลือดสมอง Stroke

 
โรคหลอดเลือดสมอง Stroke เกิดจากหลายสาเหตุ อาจเป็นความผิดปกติของหลอดเลือดตั้งแต่กำเนิด เกิดจากอุบัติเหตุบริเวณศีรษะทำให้หลอดเลือดแตก หรือความเสื่อมของหลอดเลือดตามวัยในกลุ่มผู้สูงอายุ นอกจากนี้ยังพบว่ามีความสัมพันธ์กับโรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคหัวใจ โรคไต ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง รวมถึงปัจจัยเสี่ยง เช่น การสูบบุหรี่หรือดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ มีความเครียดสูง ขาดการออกกำลังกาย เป็นต้น


โรคหลอดเลือดสมอง Stroke อาการเป็นอย่างไร

 
ผู้ป่วย Stroke มักมีอาการเกิดขึ้นแบบเฉียบพลัน บางรายมีอาการเพียงเล็กน้อย หรือมีอาการชั่วครู่แล้วหายเป็นปกติ แต่นั่นคือสัญญาณเตือนอันตราย ยิ่งพาผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลเร็วเท่าไหร่ ก็จะมีโอกาสรอดสูงขึ้นเท่านั้น โดยวิธีสังเกตผู้ป่วย Stroke อาการเตือนจำง่าย ๆ ด้วยคำว่า BEFAST ซึ่งย่อมาจาก

B Balance สูญเสียการทรงตัว เดินเซ เดินชน เวียนศีรษะ

E Eyes ตามัว ตาพร่า เห็นภาพซ้อน สูญเสียการมองเห็นแบบเฉียบพลัน  

F Face ใบหน้าชา ปากเบี้ยว มุมปากตก 

A Arm แขนขาชา มีอาการอ่อนแรงครึ่งซีก

S Speech พูดไม่ชัด นึกคำที่จะพูดไม่ออก พูดหรือฟังไม่เข้าใจ มึนงง สับสน

T Time รีบนำส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด เพราะทุกนาทีคือโอกาสที่ผู้ป่วยจะมีชีวิตรอด



โรคหลอดเลือดสมอง Stroke มีกี่ประเภท
 
การรักษาโรคหลอดเลือดสมอง จะแตกต่างกันตามลักษณะความผิดปกติของหลอดเลือด โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

1. หลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน (Ischemic Stroke)
พบได้มากถึง 80% ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โดยสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการบริโภคอาหารที่มีไขมันสูง ทำให้เกิดการสะสมของไขมันบริเวณผนังหลอดเลือด จนทำให้หลอดเลือดแคบลง ผนังหลอดเลือดหนา ขาดความยืดหยุ่น เลือดจึงไหลเวียนไปเลี้ยงสมองได้ไม่ดี นอกจากนี้ยังอาจจะเกิดจากปัจจัยอื่น ๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง การสูบบุหรี่ หรือมีลิ่มเลือดที่เกิดขึ้นบริเวณอื่นไหลมาอุดตัน เป็นต้น

2. หลอดเลือดสมองแตก (Hemorrhagic Stroke)
มักพบในผู้สูงอายุ และผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง เนื่องจากหลอดเลือดเสื่อม ผนังหลอดเลือดเปราะบาง ปริแตกง่าย ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ ในขณะที่เลือดบางส่วนก็ไหลออกไปสะสมและกดทับเนื้อเยื่อสมอง ทำให้เซลล์สมองได้รับความเสียหาย ผู้ป่วยเส้นเลือดในสมองแตก อาการเริ่มแรกจะคล้ายกับอาการหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน แพทย์จึงต้องทำการ CT Scan หรือ MRI เพิ่มเติมเพื่อวางแนวทางการรักษาให้เหมาะสม


วิธีการรักษา Stroke ที่ดีที่สุด
 
วิธีการรักษา Stroke ขึ้นอยู่กับสาเหตุ หากผู้ป่วยมีอาการหลอดเลือดตีบหรืออุดตัน แพทย์อาจพิจารณาให้ยาละลายลิ่มเลือด ยาต้านเกล็ดเลือด ยาลดความดัน  ยาลดไขมัน ใส่สายสวนหลอดเลือดแดง ใช้บอลลูนหรือขดลวดช่วยขยายหลอดเลือดที่ตีบ ส่วนผู้ป่วยที่มีอาการหลอดเลือดแตก และมีเลือดออกมาก แพทย์อาจพิจารณาทำการผ่าตัดสมอง 

แต่สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือ การพยาบาลผู้ป่วย Stroke ระยะฟื้นฟู เพราะแม้ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาจนพ้นจากภาวะวิกฤตแล้ว ก็ต้องพักฟื้นเป็นเวลานาน อีกทั้งความเสียหายที่เกิดขึ้นก็อาจส่งผลกระทบต่อระบบการทำงานส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย เช่น การเคลื่อนไหว การควบคุมการขับถ่าย การสื่อสาร ความจำ ฯลฯ ในช่วงระยะเวลา 3-6 เดือนแรกหลังเกิดอาการ Stroke จึงต้องเร่งฟื้นฟูผู้ป่วยด้วยการกายภาพบำบัด เพื่อกระตุ้นให้เซลล์สมองกลับมาทำงานได้ตามปกติ เพราะเป็นช่วงเวลาทอง (Golden Period) ที่สมองสามารถฟื้นฟูได้ดีที่สุด

บทความที่เกี่ยวข้อง
สาเหตุและอาการของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) เกิดจากอะไร? ป้องกันยังไงได้บ้าง
ภาวะของโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของประเทศไทยและของโลก ในขณะเดียวกันก็ยังมีผู้ป่วยที่รอดชีวิต แต่กลายเป็นคนพิการถาวรอีกจำนวนไม่น้อย ทั้งที่จริงแล้วโรคนี้สามารถรักษาหายได้โดยไม่มีความผิดปกติหลงเหลือ หากนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลได้ทันเวลา หรือภายใน 4 ชั่วโมงครึ่ง
1 ส.ค. 2024
เกิดอะไรขึ้น! อาการตาพร่ามัวเห็นภาพซ้อน เกิดจากสาเหตุใดและเป็นอันตรายไหม?
อาการตาพร่ามัวเห็นภาพซ้อน หลายคนมักจะคิดว่าเป็นเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ และมักปล่อยผ่านไปเป็นเวลานานโดยไม่เข้าพบแพทย์ ในความเป็นจริงแล้วหากเกิดอาการตาพร่ามัวหรือมีภาพซ้อนเกิดขึ้นบ่อย ๆ อย่าปล่อยผ่านเด็ดจาก! เพราะอาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณเตือนบ่งบอกโรคได้หลายประการ ถ้าเอยากรู้ว่ามันคืออะไร และอันตรายแค่ไหน ตามไปดูพร้อมกันได้เลย
15 ม.ค. 2024
เลือกศูนย์ผู้สูงอายุ บ้านพักคนชราและผู้ป่วยทั่วไป บริการดี ราคาไม่แพง คลิกเลย!
หากใครที่กำลังมองหาศูนย์ผู้สูงอายุสำหรับญาติผู้ใหญ่หรือผู้สูงอายุภายในบ้านอยู่ แต่ยังไม่มีความรู้ในด้านนี้ว่าต้องพิจารณาเลือกอย่างไร ต้องคำนึงถึงปัจจัยอะไรบ้าง อย่าเพิ่งเป็นกังวลไปค่ะ วันนี้เรามีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับศูนย์บริการดูแลผู้สูงอายุมาแนะนำ รับรองว่าอ่านจบทุกคนจะสามารถเลือกศูนย์ดูแลผู้สูงอายุที่ดีและตอบโจทย์ได้อย่างแน่นอน
15 ม.ค. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy