อาการเส้นเลือดในสมองแตก ปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)
เส้นเลือดในสมองแตก คือ ภาวะที่สมองขาดเลือดและออกซิเจน เนื่องจากการอุดตันของหลอดเลือด ทำให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงยังสมองได้ และทำให้เซลล์สมองถูกทำลายและเกิดความผิดปกติ ส่งผลให้สมองไม่สามารถควบคุมระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย รวมถึงไม่สามารถควบคุมอวัยวะภายนอกได้ วันนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกับโรคเส้นเลือดสมองแตกว่ามีความร้ายแรงอย่างไร และส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันมากน้อยเพียงใด
สาเหตุของโรคเส้นเลือดในสมองแตกเกิดจากอะไร?
สาเหตุของเส้นเลือดในสมองแตกเกิดจากหลากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตที่สูงเกินไป ส่งผลให้เลือดที่ไปเลี้ยงสมองมีน้อยมาก จนทำให้หลอดเลือดมีความเปราะบางและส่งผลให้หลอดเลือดมีการปริแตกออกจากกัน ซึ่งทำให้เกิดภาวะเลือดออกในสมอง และส่งผลให้ผู้ป่วยมีปัญหาด้านการสื่อสาร การพูด การคิดวิเคราะห์ และการประมวลผล ผู้ป่วยบางรายถึงกับมีอาการมึนงง หรือขยับร่างกายบริเวณแขน ขา ไม่ได้ ถึงขั้นเป็นอัมพาตครึ่งซีก หากร้ายแรงก็จะส่งผลถึงขั้นเสียชีวิต ส่วนปัจจัยอื่น ๆ ของสาเหตุอาการเส้นเลือดในสมองแตก คือโรคเบาหวาน การสูบบุหรี่จัด ทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง และไม่สามารถควบคุมได้ทันท่วงที
เส้นเลือดในสมองแตก มีอาการอย่างไร?
อาการเส้นเลือดในสมองแตกเบื้องต้น เมื่อสมองขาดเลือดจะทำให้สมองไม่สามารถควบคุมและทำงานได้ตามปกติ ซึ่งอาการเส้นเลือดสมองแตก จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรง ดังนี้
1. เส้นเลือดในสมองแตก อาการเริ่มแรก
แขน ขา เกิดอาการชาหรืออ่อนแรง หน้าเบี้ยว ชาครึ่งซีก กล้ามเนื้ออ่อนแรง พูดไม่ชัด กลืนลำบาก ปวดศีรษะ เวียนหัวบ้านหมุน มองเห็นภาพซ้อน เดินเซ หรือการทรงตัวลำบาก
2. เส้นเลือดในสมองแตกเฉียบพลัน
เกิดการเสียสมดุลการทรงตัวอย่างฉับพลัน ไม่สามารถขยับหรือเคลื่อนไหวร่างกายได้ และมีปัญหาในด้านการมองเห็น เช่น สายตาพร่ามัว มองไม่เห็น หรือมีอาการตาบอดข้างเดียวอย่างทันทีทันใด บางรายอาจพบอาการปวดหัวรุนแรงเฉียบพลัน ร่วมกับการคลื่นไส้อาเจียน และอาการดังกล่าวก็จะขึ้นอยู่กับการเสียหายของเซลล์สมองที่ถูกทำลายของแต่ละบุคคล
3. เส้นเลือดในสมองแตก ไม่รู้สึกตัว
เป็นอาการเส้นเลือดสมองแตกที่บริเวณใกล้เคียงกับจุดที่เกิดการหดเกร็ง ซึ่งส่งผลให้สมองตายจากการขาดเลือดหรือเกิดภาวะโคม่า ทำให้ผู้ป่วยจะไม่รู้สึกตัว ไม่สามารถรับรู้อะไรได้ และส่งผลให้ไม่มีสติ เนื่องจากเกิดจากการที่สมองขาดเลือดและออกซิเจนเป็นระยะเวลานาน และยังทำให้เส้นเลือดในสมองแตกในบริเวณอื่น ๆ เพิ่มอีกด้วย
วิธีการรักษาอาการเส้นเลือดในสมองแตก
เส้นเลือดแตกในสมอง การรักษามี 2 วิธีหลัก ๆ ดังนี้
การรักษาโดยใช้ยาละลายลิ่มเลือดหรือยาต้านเกล็ดเลือด เพราะผู้ป่วยที่มีเลือดออกในสมองจะมีความรู้สึกตัวที่ลดลง ความดันโลหิตสูง สมองบวมหรือบางรายอาจเกิดภาวะความดันในสมองสูงขึ้น ซึ่งส่งผลให้เป็นอันตรายต่อสมอง จึงจะต้องรีบทำการรักษาเพื่อแก้ไขความผิดปกติของเซลล์สมองโดยเร็วที่สุด เช่น การดูแลทางเดินลมหายใจสำหรับผู้ป่วยที่ไม่ค่อยรู้สึกตัว หรือมีการหายใจช้า หายใจเองลำบาก ซึ่งเป็นสาเหตุของการอุดตันทางเดินหายใจ เป็นต้น และต้องรักษาการควบคุมความดันโลหิตไม่ให้สูงจนเกินไป เพื่อป้องกันหลอดเลือดแตกเพิ่มขึ้น และให้ยาป้องกันอาการชัก
การรักษาด้วยการผ่าตัด เฉพาะผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัว เพราะอาการเส้นเลือดในสมองแตก จะต้องผ่าตัดเพื่อรีบทำการช่วยเหลือ โดยการเจาะรูเล็ก ๆ ที่ศีรษะเพื่อดูดเอาเลือดออกจากสมอง ซึ่งการผ่าตัดนี้จะใช้ระยะเวลาในการพักฟื้นที่ไม่นาน และผู้ป่วยอาจฟื้นตัวได้เร็วขึ้น