แชร์

โรคพาร์กินสัน สาเหตุ อาการ และวิธีรักษา โรคที่ผู้สูงอายุไม่ควรมองข้าม!

อัพเดทล่าสุด: 9 ม.ค. 2024
209 ผู้เข้าชม
โรคพาร์กินสัน สาเหตุ อาการ และวิธีรักษา โรคที่ผู้สูงอายุไม่ควรมองข้าม!

โรคพาร์กินสัน คืออะไร
 
โรคพาร์กินสัน คือ โรคที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของระบบประสาทและสมอง ทำให้ผลิตสารสื่อประสาทที่มีผลต่อการสั่งการส่วนอื่น ๆ ในร่างกาย ส่งผลต่ออารมณ์และการตื่นตัว เคลื่อนไหวร่างกาย หรือที่เรียกว่า สารโดปามีน (Dopmine) ได้น้อยลงกว่าปกติ ส่งผลให้เกิดอาการมือสั่น ตัวสั่น เคลื่อนไหวช้า ตามมา


สาเหตุของโรคพาร์กินสัน เกิดจากอะไร
 
โรคพาร์กินสัน สาเหตุคืออะไรยังไม่มีใครสามารถพิสูจน์ได้แน่ชัด แต่ทางการแพทย์มีการสันนิษฐานว่าอาจเกิดได้จาก 2 ปัจจัยดังต่อไปนี้

 พันธุกรรม ในผู้ป่วยบางรายอาจมียีนที่ผิดปกติแต่กำเนิด ซึ่งอาจส่งผลต่อการเสื่อมสภาพของเซลล์สมองและเสี่ยงที่จะเกิดโรคพาร์กินสันได้
พฤติกรรมการใช้ชีวิตและสภาพแวดล้อม อาจเกิดจากการสูดดมสารเคมีบางชนิดโดยไม่รู้ตัว ที่ส่งผลต่อการเสื่อมสภาพของเซลล์สมอง แต่ทางการแพทย์เองก็ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้แน่ชัดว่าสารดังกล่าวคือสารชนิดใด
โรคพาร์กินสันมีอาการอย่างไร
 

โรคพาร์กินสัน อาการเริ่มต้น ที่สังเกตได้ชัดเจนคืออาการสั่นโดยไร้สาเหตุ คิดช้า เคลื่อนไหวตัวช้า นอกจากนี้ยังมีอาการอื่น ๆ ในผู้ช่วยบางรายอาจหยุดนิ่งไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ หลังงุ้ม เดินซอยเท้า พูดช้า น้ำลายไหลโดยไม่รู้ตัว ทั้งนี้ความรุนแรงของอาการที่แสดงออกมา จะขึ้นอยู่กับระยะอาการของผู้ป่วยด้วยเช่นเดียวกัน


โรคพาร์กินสันมีกี่ระยะ

 
โรคพาร์กินสันมีทั้งหมด 5 ระยะ ด้วยกัน ซึ่งแต่ละระยะก็จะมีลักษณะอาการที่แตกต่างกันออกไป ได้แก่

1. โรคพาร์กินสันระยะเริ่มต้น
ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันระยะเริ่มต้น มักจะมีอาการปวดเมื่อยร่างกาย มือสั่น นิ้วล็อก หรือรู้สึกควบคุมการเคลื่อนไหวร่างกายตนเองไม่ได้ในระยะเวลาสั้น ๆ

2. โรคพาร์กินสัน ระยะที่ 2 
อาการผู้ป่วยในระยะนี้มักจะมีภาวะตัวโก่งงอไปด้านหน้า หลังเริ่มค่อมลงเล็กน้อย บวกกับมีอาการสั่นและเคลื่อนไหวช้า ร่างกายหยุดนิ่งในบางเวลาเช่นเดียวกับระยะที่ 1

3. โรคพาร์กินสัน ระยะที่ 3 
ในระยะที่ 3 นี้ผู้ป่วยจะเริ่มสูญเสียการทรงตัว ล้มง่าย ลุกนั่งลำบาก ยังคงมีอาการสั่นและเคลื่อนไหวช้าเช่นเดียวกัน

4. โรคพาร์กินสัน ระยะที่ 4 
เป็นระยะที่ผู้ป่วยจะไม่ค่อยมีอาการสั่นมากเท่าระยะ 1-3 แต่ร่างกายจะเริ่มแข็งเกร็ง มีอาการเคลื่อนไหวช้า และสูญเสียการทรงตัว ช่วยเหลือตัวเองได้ลำบาก ระยะนี้ควรมีผู้ดูแลอย่างใกล้ชิด

5. โรคพาร์กินสัน ระยะสุดท้าย
ระยะสุดท้ายเป็นระยะที่ผู้ป่วยแทบจะไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้เลย จะเรียกว่าเป็นผู้ป่วยติดเตียงก็ได้เช่นกัน กล้ามเนื้อจะแข็งเกร็งจนไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ มือและเท้าจะเริ่มหงิกงอ และเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนมากมายตามมา

การดูแลและการรักษาผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน
 
โรคพาร์กินสัน วิธีรักษา หลัก ๆ เลยคือการรับยาไปทานเพื่อเพิ่มสารโดปามีนทดแทนในส่วนที่เสื่อมสภาพไป หรืออีกหนึ่งวิธีคือการผ่าตัดสำหรับผู้ป่วยที่ร่างกายไม่ตอบสนองต่อยา จะใช้วิธีการผ่าตัดเพื่อฝังขั้วไฟฟ้าในการกระตุ้นสมองแทน  บวกกับการทำกายภาพบำบัดในเบื้องต้น เพื่อให้ร่างกายเกิดการเคลื่อนไหวและฝึกการทรงตัว

โรคพาร์กินสัน การดูแลต้องทำอย่างไรบ้าง
 
การดูแลผู้ป่วยพาร์กินสัน ในระยะที่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ควรให้ผู้ป่วยออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อกระตุ้นการใช้งานของกล้ามเนื้อ และให้ทานอาหารที่มีประโยชน์เน้นสร้างพลังงานและโปรตีน เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง ประกอบกับการจัดยาให้ทานอย่างสม่ำเสมอ เท่านี้ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับเข้าสู่สภาวะใกล้เตียงกับปกติได้มากที่สุดแล้วล่ะค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง
สาเหตุและอาการของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) เกิดจากอะไร? ป้องกันยังไงได้บ้าง
ภาวะของโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของประเทศไทยและของโลก ในขณะเดียวกันก็ยังมีผู้ป่วยที่รอดชีวิต แต่กลายเป็นคนพิการถาวรอีกจำนวนไม่น้อย ทั้งที่จริงแล้วโรคนี้สามารถรักษาหายได้โดยไม่มีความผิดปกติหลงเหลือ หากนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลได้ทันเวลา หรือภายใน 4 ชั่วโมงครึ่ง
1 ส.ค. 2024
เกิดอะไรขึ้น! อาการตาพร่ามัวเห็นภาพซ้อน เกิดจากสาเหตุใดและเป็นอันตรายไหม?
อาการตาพร่ามัวเห็นภาพซ้อน หลายคนมักจะคิดว่าเป็นเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ และมักปล่อยผ่านไปเป็นเวลานานโดยไม่เข้าพบแพทย์ ในความเป็นจริงแล้วหากเกิดอาการตาพร่ามัวหรือมีภาพซ้อนเกิดขึ้นบ่อย ๆ อย่าปล่อยผ่านเด็ดจาก! เพราะอาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณเตือนบ่งบอกโรคได้หลายประการ ถ้าเอยากรู้ว่ามันคืออะไร และอันตรายแค่ไหน ตามไปดูพร้อมกันได้เลย
15 ม.ค. 2024
เลือกศูนย์ผู้สูงอายุ บ้านพักคนชราและผู้ป่วยทั่วไป บริการดี ราคาไม่แพง คลิกเลย!
หากใครที่กำลังมองหาศูนย์ผู้สูงอายุสำหรับญาติผู้ใหญ่หรือผู้สูงอายุภายในบ้านอยู่ แต่ยังไม่มีความรู้ในด้านนี้ว่าต้องพิจารณาเลือกอย่างไร ต้องคำนึงถึงปัจจัยอะไรบ้าง อย่าเพิ่งเป็นกังวลไปค่ะ วันนี้เรามีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับศูนย์บริการดูแลผู้สูงอายุมาแนะนำ รับรองว่าอ่านจบทุกคนจะสามารถเลือกศูนย์ดูแลผู้สูงอายุที่ดีและตอบโจทย์ได้อย่างแน่นอน
15 ม.ค. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy